ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต
การทำหนังสือเดินทางพระภิกษุ สามเณร

เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางพระภิกษุ สามเณร
- เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศหนังสืออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(ศ.ต.ภ.)
- หนังสือสุทธิ
- ทะเบียนบ้าน/วัด
- เอกสารประกอบ อาทิ ใบตราตั้งสัญญาบัตร ใบฐานานุกรม ใบเปรียญธรรม ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ใบตราตั้งเจ้าคณะตำบล ใบฐานานุกรม(ชั้นพิเศษ)
กรณีสามเณรอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากเจ้าอาวาส ซึ่งระบุข้อความว่า ยินยอมให้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศมาแสดงด้วย
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
- หนังสือรับรองจากสำนักจุฬาราชมนตรีหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองการไปประกอบพิธีฮัจญ์
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย
- ถ้าผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ยึดระเบียบการทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี หรือผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี แล้วแต่กรณี
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีค่าธรรมเนียม 400 บาท และหนังสือเดินทางมี อายุ 2 ปี
หนังสือเดินทางทูต

-
การออกหนังสือเดินทางทูต
ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 6 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางทูตแก่บุคคลดังต่อไปนี้
- พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
- พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
- ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
- นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
- ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุธรณ์
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
- อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
- คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8)
- บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียง เกียรติคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้ปลัด
กระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้
- หนังสือเดินทางทูตมีอายุไม่เกิน 5 ปี (ไม่สามารถต่ออายุ) หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือ หนังสือเดินทางทูต ให้ส่งหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ
- ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเองเพื่อบันทึกข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางทูต
กรณีเดินทางไปราชการ
- หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง
- สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ โดยมีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
- บัตรประจำตัวข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
กรณีไปประจำการต่างประเทศ
- หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- บันทึกจากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) กระทรวงการต่างประเทศ ถึงผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทางขอความอนุเคราะห์ให้ออกหนังสือเดินทางแจ้งการเดินทางไปรับตำแหน่งทางการทูตพร้อมครอบครัว และรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การเดินทางไปแทนบุคคลซึ่งครบวาระประจำการ เป็นต้น
- สำเนาบัตรข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีคู่สมรสเป็นข้าราชการจะต้องมีใบลาอนุมัติให้ลาติดตามสามีแนบด้วย
หนังสือเดินทางราชการ

-
การออกหนังสือเดินทางราชการ
ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ข้อ 9 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางราชการแก่บุคคลดังต่อไปนี้
- ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
- ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรืสถานกงสุลไทย หรือ ในคณะทูตถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศในตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งทางการทูต รวมทั้ง คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาที่ประจำอยู่
หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
- บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
- บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือ เกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางได้
- หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน5 ปี หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางราชการ ให้ส่งหนังสือเดินทางราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางราชการ
ผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง ได้แก่ ภาพใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง
เอกสารที่ต้องเตรียมมาในวันยื่นคำร้อง
- หนังสือนำจากต้นสังกัดระดับปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ยื่นคำร้องเดินทางไปราชการ ให้ระบุประเทศ กำหนดวันเวลาที่จะเดินทาง
- สำเนาบันทึกหรือสำเนาคำสั่งที่อนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ แสดงรายละเอียดการเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะเดินทาง ฯลฯ) กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากที่อื่น เช่น
จากต่างประเทศ หรือหน่วยงานในประเทศ ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ
- บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน
- กรณีเป็นพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัย โปรดนำหลักฐานแสดงระยะเวลาการปฏิบัติงานกับต้นสังกัด เช่น สัญญาการจ้างมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง
ค่าธรรมเนียม
- ในการขอหนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท สามารถนำใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัด
การขอหนังสือนำไปขอรับการตรวจลงตรา (VISA)
กรณีขอหนังสือเดินทางราชการพร้อมหนังสือนำเพื่อการตรวจลงตรากับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลต่างประเทศในไทย จะต้องถ่ายสำเนาหน้าหนังสือนำที่มีถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศมาด้วย 1 ชุด
ประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
โปรดติดต่อสอบถามข้อมูลล่าสุดได้ที่ "กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ"
วัน-เวลาที่เปิดทำการ
จันทร์ ถึง ศุกร์ หยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดที่ทางราชการกำหนด ระหว่าง เวลา 8.00 - 15.30 น. กำหนดวันรับเล่มหรือหนังสือนำวีซ่า 2 วันทำการไม่นับวันยื่น
โทร.02-981-7171 ต่อ 32351 ,32302 ,32303
หรือ 02-981-7265 ถึง 6 FAX : 02-981-7267
การทำหนังสือเดินทางธรรมดา เล่มแดง

ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
โปรดนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นคำร้องกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และ ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วน ท่านจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
- รับบัตรคิว
- ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
- ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
- ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้
หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)
บุคคลบรรลุนิติภาวะ
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอ/เขต
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา
มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ **หนังสือยินยอมของบิดา/มารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต
(ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงตัวให้ความยินยอม)
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
- กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ /บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้
ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำ หนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง
- กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสบิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่ายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้องให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง
- กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ. (สถานทูต/สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า
- ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
- มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
- ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
- บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
- เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง
ระเบียบการขอ วีซ่า visa ไปต่างประเทศ

ระเบียบการขอ วีซ่า visa
เราต่างก็รู้ดีว่าการไปต่างประเทศต้องขอ "วีซ่า" แล้ววีซ่าคืออะไร...เราต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะได้วีซ่า? วันนี้ อาจารย์ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีข้อควรรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพราะเดี๋ยวนี้คนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น แต่การเดินทางไปต่างประเทศไม่ง่ายเหมือนในประเทศ เพราะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องรู้และทำความเข้าใจเพิ่มเติม ไปต่างประเทศ...ต้องขอวีซ่า เมื่อคุณจะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่จำเป็นต้องใช้คือ...
- หนังสือเดินทาง
- วีซ่า (Visa) เข้าประเทศนั้นในหนังสือเดินทาง
- ตั๋วเครื่องบิน
- เงินสำหรับใช้จ่าย ซึ่งเป็นเงินสกุลท้องถิ่นหรือเงินสกุลหลักที่ประเทศนั้น ๆ ยอมรับ แต่สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษคือ วีซ่า
วีซ่า...คืออะไร
วีซ่า เป็นหลักการเดียวกันของนานาประเทศทั่วโลก ที่ได้ถือปฏิบัติร่วมกันว่า ก่อนที่คนของประเทศหนึ่งจะเดินทางไปยังอีกประเทศหนึ่ง บุคคลที่จะเดินทางไปประเทศอื่นจะต้องขอวีซ่า เพื่อเข้าประเทศจากสถานฑูตของประเทศที่จะเดินทางไปเสียก่อน ซึ่งปลายทางของแต่ละประเทศ ก็จะมีเงื่อนไขและเอกสารหลักฐานประกอบการขอวีซ่าแตกต่างกันไป เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็จะได้รับการประทับตราวีซ่า หรือติดเป็นสติ๊กเกอร์ให้ในหนังสือเดินทาง ดังนั้น วีซ่าคือหลักฐานการอนุญาตให้บุคคลประเทศอื่นเข้าประเทศ ที่ทำเป็นรอยตราประทับ หรือเป็นแผ่นกระดาษ หรือเป็นสติ๊กเกอร์ติดอยู่ในหนังสือเดินทาง
ข้อยกเว้น...บางประเทศ
อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศที่ได้ทำการตกลง โดยไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างกันได้ หรือบางประเทศอาจยกเว้น โดยการอนุญาตให้คนบางสัญชาติเดินทางเข้าไปในประเทศได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้ อย่างเช่นประเทศไทย ก็ยกเว้นให้แก่คนสัญชาติของประเทศที่มีความเจริญ และมีฐานะค่อนข้างดี ที่เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 30 วันเท่านั้น
ประเทศที่คนไทย...ไม่ต้องขอวีซ่า
มีหลายประเทศที่รัฐบาลไทย ไปทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดินทางไปมาได้สะดวก และมีอีกหลายประเทศที่เขาอำนวยความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ มีอยู่ 22 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทย สามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งจะมีกำหนดระยะเวลาในการพักอยู่ในประเทศแตกต่างกันออกไป ดังนี้
-
ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
- อาร์เจนตินา (Argentina)
- บราซิล (Brazil)
- ชิลี (Chile)
- เกาหลีใต้ (South Korea)
- เปรู (Peru)
- เอกวาดอร์ (Ecuador)
-
ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
- ฮ่องกง (Hong Kong)
- อินโดนีเซีย (Indonesia)
- ลาว (Laos)
- มาเก๊า (Macau)
- มองโกเลีย (Mongolia)
- มาเลเซีย (Malaysia)
- มัลดีฟส์ (Maldives)
- รัสเซีย (Russia)
- แอฟริกาใต้ (South Africa)
- เวียดนาม (Vietnam)
- เซเชลส์ (Republic of Seychelles)
-
ระยะเวลาไม่เกิน 21 วัน
-
ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
-
ระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
- บรูไน (Brunei)
- สิงคโปร์ (Singapore)
- Cambodian)
ขอวีซ่า...ไปยุโรป
การขอวีซ่าเข้าประเทศในยุโรปนั้น ได้รับการยกเว้น ซึ่งเป็นการตกลงกันของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ในยุโรป เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางเข้าออกระหว่างกัน โดยมีประเทศที่ทำข้อตกลงไม่ต้องขอวีซ่า 26 ประเทศ ดังนี้
- ออสเตรีย (Austria)
- เบลเยียม (Belgium)
- เดนมาร์ก (Denmark)
- ฟินแลนด์ (Finland)
- ฝรั่งเศส (France)
- เยอรมนี (Germany)
- ไอซ์แลนด์ (Iceland)
- อิตาลี (Italy)
- กรีซ (Greece)
- ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
- เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands)
- นอร์เวย์ (Norway)
- โปรตุเกส (Portugal)
- สเปน (Spain)
- สวีเดน (Sweden)
- เอสโตเนีย (Estonia)
- ลัตเวีย (Latvia)
- ลิทัวเนีย (Lithuania)
- ฮังการี (Hungary)
- มอลตา (Malta)
- โปแลนด์ (Poland)
- สโลวีเนีย (Slovenia)
- สโลวาเกีย (Slovakia)
- สาธารณะรัฐเช็ก (Czech Republic)
- สวิสเซอร์แลนด์ (Switzerland)
- โมนาโก (Monaco)
ซึ่งทั้ง 26 ประเทศ ทำความตกลงกันโดยการออกวีซ่าพิเศษที่มีชื่อว่า Schengen Visa (เชงเก้น วีซ่า) เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ในการเดินทางเข้ายุโรป ซึ่งคนไทยก็มีสิทธิ์ขอวีซ่าชนิดนี้ โดยผู้ที่มี Schengen Visa สามารถเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้ได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่ากับประเทศอื่น ๆ อีก และสามารถพำนักอยู่ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน และการยื่นขอ Schengen Visa จะต้องไปขอที่สถานฑูตของประเทศที่คุณจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่หากไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ก็ต้องไปขอที่สถานฑูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าไป
อีกเรื่องที่ต้องระวังคือ การถูกหลอกจากคำโฆษณาตามป้ายหรือใบปลิว โดยเชิญชวนว่าสามารถยื่นขอวีซ่า ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศได้ทุกกรณี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการผู้คุ้มครองผู้บริโภค มีคำเตือนถึงประชาชนที่ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศว่า ควรศึกษาเงื่อนไขการยื่นขอวีซ่าของแต่ละสถานฑูตด้วยตนเอง ให้เข้าใจเสียก่อน ทางที่ดีไปยื่นขอวีซ่าด้วยตนเองจะดีที่สุด
แหล่งที่มา : กงสุลไทย และ www.consular.go.th